รีโนเวทบ้านหลังเก่าให้กลับมาเป็นบ้านหลังใหม่ขึ้นอีกครั้ง

mememint mememint
율리아네 집수리(Julia's JIP-SOORI), 무회건축연구소 무회건축연구소 Modern home
Loading admin actions …

การปรับปรุงบ้านเก่าเป็นบ้านใหม่ให้อยู่ในสภาพดีอยู่เสมอนั้นเป็นหนึ่งในเรื่องคลาสสิคของการตกแต่งปรับปรุงบ้าน แต่ละตัวอย่างนั้นก็มีรายละเอียดแตกต่างน่าสนใจในหลายๆหัวข้อ สภาพของบ้านหลายๆหลังที่นำมาเสนอในวันนี้ก็เช่นกันที่ต้องได้ปรับปรุง โดยมีตัวอย่างจากหลายๆส่วนในตัวบ้าน ตั้งแต่หน้าบ้าน หลังบ้าน นอกชานและระเบียง จะมีรายละเอียดน่าสนใจเหมาะกับไปปรับใช้กับการปรับปรุงบ้านของคุณบ้างไหม ลองไปดูกันเลยดีกว่า

บ้านหลังที่ 1 การปรับปรุงลานบ้านเก่า

ภาพแรกนี้เป็นการปรับปรุงลานบ้านของบ้านหลังหนึ่ง โดยบันไดซึ่งใช้เดินขึ้นไปจากลานของบ้านไปยังระเบียงชั้น 2 รวมถึงพื้นที่ชั้นบนชั้น 2 นั้นทำจากซีเมนต์ ซึ่งมีสิ่งของวางเกะกะอยู่โดยรอบราวบันได สวนเล็กๆ ซึ่งเป็นแนวยาวอยู่ทางด้านข้างของลานบ้าน ถึงสวนจะสวยงามแต่ก็ทำให้พื้นที่ของลานบ้านนั้นแคบและดูอึดอัด

บ้านหลังที่ 1 หลังการปรับปรุงลานบ้าน

ภาพนี้เป็นภาพที่มองจากมุมตรงกันข้ามกับภาพแรก พื้นซีเมนต์และบันไดถูกตกแต่งให้ขึ้นมายังพื้นที่ของระเบียงบ้านที่ปูด้วยระเบียงไม้ทั้งหมด ระเบียงถูกตกแต่งด้วยต้นไม้ใหญ่ที่ขึ้นมาจากชั้นล่าง ซึ่งนั่นก็ไม่ได้ทำให้การตกแต่งพื้นที่ยากลำบากแต่อย่างใด ถัดจากระเบียงเป็นประตูหน้าซึ่งสามารถเปิดตรงเข้าไปยังบ้าน ซึ่งเชื่อมต่อกับระเบียงที่สามารถเปิดออกมาเพื่อเดินเล่นผ่อนคลายได้ อีกทั้งยังเป็นพื้นที่สำหรับให้เด็กๆ ออกมาวิ่งเล่นได้อย่างปลอดภัยอีกด้วย

บ้านหลังที่ 1 หน้าบ้านแบบเดิม

แต่เดิมนั้นหน้าบ้านหลังนี้เป็นกำแพงผนังที่ทาด้วยสีฟ้าสว่างสดใส ประตูทำจากโลหะสีเทาที่ยื่นออกมาจากรั้วไม้สีเขียว ติดกับฝาผนังซีเมนต์ซึ่งดูเก่าไปตามธรรมชาติในตรอกซอย ซึ่งทำให้บ้านหลังนี้ดูเป็นบ้านที่แสนจะเก่า และไม่อยู่ในสายตาของผู้ที่ผ่านไปมา

บ้านหลังที่ 1 หน้าบ้านหลังจากได้รับการปรับปรุง

กำแพงหน้าบ้านนั้นถูกทาด้วยสีขาว ประดับด้วยกล่องไปรษณีย์สีแดงซึ่งติดอยู่บนประตูไม้สีน้ำตาลเข้มในกรอบเหล็กสีดำช่วยดึงดูดความสนใจของบ้านได้เป็นอย่างมาก รั้วไม้ซึ่งทำให้มองเห็นต้นไม้ที่อยู่บนระเบียงของบ้าน ทำให้บรรยากาศของบ้านหลังนี้ดูเปลี่ยนไปจากบ้านหลังเดิมอย่างไม่น่าเชื่อ

บ้านหลังที่ 2 ก่อนการปรับปรุง

บ้านที่เห็นอยู่นี้เป็นการปรับปรุงสิ่งก่อสร้างของ 무회건축연구소 ซึ่งภาพที่เห็นอยู่นี้เป็นพื้นที่ระเบียงชั้น 2 ที่ดูเหมือนจะเป็นพื้นที่ที่ไม่ได้ใช้งาน ผนังระเบียงถูกตกแต่งด้วยอิฐบล็อกสีแดง มีชายคาเล็กๆ ที่ยื่นออกมามุงด้วยกระเบื้องสีเดียวกัน พื้นระเบียงทำจากพื้นสีเขียวที่่ต้องการปรับปรุงโดยด่วน

บ้านหลังที่ 2 หลังการปรับปรุง

ภาพนี้เป็นภาพของบ้านหลังการปรับปรุง ซึ่งจะเห็นได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สุดแสนจะน่าทึ่ง พื้นระเบียงชั้น 2 ถูกเปลี่ยนปูด้วยไม้ และมีการออกแบบให้พื้นที่ระเบียง รวมทั้งพื้นที่ชั้น 1 มีการเชื่อมต่อไปยังชานบ้าน ระเบียงที่ปรับปรุงใหม่โดยใช้ไม้มาปูพื้นนี้ให้ความรู้สึกที่นุ่มนวลและให้บรรยากาศของการสัมผัสกับธรรมชาติ ผนังทางด้านซ้ายได้ถูกออกแบบมาอย่างเก๋ไก๋ ซึ่งทำให้เกิดเงาพาดมาบนพื้นที่ชั้น 2 ในขณะที่การออกแบบตกแต่งพื้นที่ภายในยังคงความสำคัญกับความเป็นส่วนตัว ระเบียงและลานบ้านถูกออกแบบให้เป็นพื้นที่ที่มีความเชื่อมต่อกัน ซึ่งทำให้สามารถเพิ่มพื้นที่ใช้สอยของระเบียงเพื่อเป็นพื้นที่ในการพักผ่อนของบ้านได้มากขึ้นกว่าเดิม

บ้านหลังที่ 3 ระเบียงหน้าบ้านก่อนทำการปรับปรุง

ภาพที่เห็นนี้เป็นสถาปัตยกรรมของบ้านที่ถูกสร้างขึ้นระหว่างยุค 80 และ ยุค 90 ที่เพิ่งจะถูกปรับปรุงให้กลายเป็นบ้านใหม่โดยใช้เวลาทั้งหมด 22 สัปดาห์ ทางเข้าบ้านซึ่งเป็นเสาก่ออิฐสีแดง ซึ่งสถาปนิกมีความต้องการเปลี่ยนบรรยากาศของบ้านหลังนี้ให้ดูมีบรรยากาศที่ทันสมัย และโมเดิร์นขึ้น มาดูกันเลยว่าหลังจากปรับปรุงเสร็จเรียบร้อยบ้านหลังนี้จะเป็นอย่างไร

บ้านหลังที่ 3 ระเบียงหน้าบ้านหลังจากได้รับการปรับปรุง

หลังการปรับปรุง เสาที่ก่อด้วยอิฐเก่าสีแดงถูกเปลี่ยนให้ล้อมรอบด้วยสีเทาเงินทั้งหมดเพื่อให้ดูทันสมัย และดูโมเดิร์นขึ้น ลานด้านหน้าซึ่งแต่เดิมเป็นขั้นบันไดที่ทำจากหิน ถูกเปลี่ยนให้เป็นระเบียงไม้ที่สามารถเดินตรงเข้าไปยังห้องนั่งเล่นในบ้านได้เลย ประตูบ้านทำจากไม้สีน้ำตาลเข้มติดกระจกใสสไตล์ยุโรป ซึ่งจะเห็นได้ว่าเพียงแค่การรีโนเวทจากอิฐบล็อกสีแดงมาเป็นสีเทาเงินก็จะช่วยให้บ้านดูโมเดิร์นขึ้นมาได้อย่างง่ายดาย

บ้านหลังที่ 4 ภายนอกอาคารก่อนทำการปรับปรุง

นี่คือภาพของบ้านเก่า ซึ่งอยู่ในเมืองเวรากรูซ ประตูเหล็กสีขาวบนรั้วสีเขียวช่างเป็นความผิดพลาดที่ทำให้บ้านหลังนี้ช่างดูเหมือนบ้านร้างเสียเหลือเกิน ด้วยสภาพของบ้านที่ดูทรุดโทรมทำให้ดูเหมือนบ้านหลังนี้เป็นบ้านที่ไม่มีคนอยู่อาศัยอยู่เลย แต่ว่าภายในบ้านนั้นกลับมีสนามหญ้าสีเขียวที่ช่างดูเป็นระเบียบเรียบร้อยเมื่อเทียบกับความยุ่งเหยิงของหน้าบ้าน แต่ถึงยังไงก็ไม่ได้เป็นสิ่งที่ทำให้รู้ว่าบ้านหลังนี้มีเจ้าของหรือมีคนอยู่อาศัยอยู่ข้างในหรือไม่อยู่ดี และด้วยสภาพของบ้านที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีความชื้นยังทำให้เห็นรอยแตกของฝาผนังบ้าน ซึ่งทำให้เห็นว่าบ้านหลังนี้ต้องได้รับการแก้ไขโดยเร่งด่วน

บ้านหลังที่ 4 ภายนอกอาคารหลังจากทำการปรับปรุง

มาดูบ้านหลังนี้หลังจากที่ได้รับการปรับปรุงกัน ที่เมื่อเปรียบเทียบรูปก่อนและหลังแล้วแทบจะไม่น่าเชื่อว่าทั้ง 2 ภาพนี้เป็นบ้านหลังเดียวกัน การปรับปรุงบ้านหลังนี้ทำให้บ้านซึ่งเคยอยู่ในสภาพแวดล้อมสีเขียว กลายมาเป็นบ้านที่ใช้โทนสีเทา และขาว ดำ เพื่อให้บ้านดูโมเดิร์นและดูมีบรรยากาศมากขึ้น พื้นที่จอดรถซึ่งออกแบบมาอย่างกะทัดรัดเพื่อให้เหมาะกับการจอดรถขนาดเล็กช่วยให้บ้านดูทันสมัย บันไดทางขึ้นจากที่จอดรถไปยังตัวบ้านได้รับการตกแต่งด้วยแปลงสวนสีเขียวเล็กๆ เมื่อขึ้นบันไดไปจะเป็นทางเข้าบ้านซึ่งเชื่อมต่อไปยังประตูกระจกที่ทำจากไม้สีน้ำตาลเข้ม ซึ่งโครงสร้างหลังนี้ได้รับการรีโนเวทให้เป็นลักษณะสี่เหลี่ยมทั้งหลัง ซึ่งทำให้ดูเป็นบ้านที่ให้บรรยากาศถึงการอยู่อาศัยซึ่งนับว่าเปลี่ยนไปเป็นอย่างมากจากบ้านหลังเดิมซึ่งดูเป็นบ้านที่ช่างรกร้างว่างเปล่าเสียเหลือเกิน

Need help with your home project?
Get in touch!

Highlights from our magazine