สร้างบ้านให้บ้านเย็น 5 ข้อคิดดีๆที่คุณเตรียมได้ตั้งแต่การก่อสร้าง

Pattareeya Pattareeya
海の家, Y.Architectural Design Y.Architectural Design Modern Corridor, Hallway and Staircase Wood Wood effect
Loading admin actions …

เรามักบ่นว่าอากาศร้อนขึ้นทุกๆ ปี ซึ่งนั่นหมายถึงยอดการใช้เครื่องปรับอากาศที่มากขึ้นด้วย แต่ขณะเดียวกัน รู้หรือไม่ว่าเครื่องปรับอากาศที่ไม่สมบูรณ์ ก็มีโอกาสปล่อยสารที่เป็นสาเหตุของโลกร้อนออกไป วนกันเป็นวง คราวนี้เราก็เลยสงสัยขึ้นมาว่า หากวันหนึ่งเรา โดยเฉพาะใครที่มีอาศัยอยู่ในตึกในเมือง ถ้าต้องลดการใช้เครื่องปรับอากาศ หรือไม่มีเครื่องปรับอากาศใช้ขึ้นมา จะอยู่ได้ไหม แล้วผู้คนในยุคก่อนล่ะ เขาอยู่กันอย่างไร

เรื่องนี้ทำให้เรานึกถึงสิ่งที่เรียกภูมิปัญญาชาวบ้านในการสร้างบ้านแต่ดั้งเดิมขึ้นมา ที่การเตรียมพร้อม ศึกษาตั้งแต่เริ่มสร้างบ้าน สามารถทำช่วยลดอุณหภูมิในบ้านได้ แม้จะไม่สามารถประยุกต์ใช้ได้ในทุกเรื่อง แต่หลักการง่ายๆ สำหรับเตรียมพร้อมก่อนก่อสร้างเหล่านี้นั้นรู้ไว้ก็ไม่เสียหลาย แถมยังช่วยลดการใช้พลังงาน ประหยัดค่าไฟได้อีกด้วย

1. เลือกวัสดุที่ช่วยกันความร้อน เช่นกระเบื้องดินเผา ภูมิปัญญาดั้งเดิมของไทย

คาดว่าหลายคนคงเคยเห็น คำถามที่ว่าใช้อิฐประเภทไหนจะช่วยทำให้บ้านเย็น กระเบื้องหลังคาแบบไหนจะช่วยสะท้อนความร้อนออกไป นั่นเป็นเพราะคุณสมบัติของวัสดุก่อสร้างประเภทต่างๆ เรียกได้ว่ามีผลต่ออุณหภูมิของบ้านอยู่ไม่น้อย รวมถึงวัสดุที่เห็นอยู่ในภาพนี้ ซึ่งเป็นกระเบื้องดินเผาแบบที่ใช้กันมาเนิ่นนาน โดยเฉพาะบ้านไทยที่นิยมใช้กระเบื้องดินเผามุงหลังคา เพราะกระเบื้องดินเผาเป็นฉนวนกันความร้อนโดยธรรมชาติ จึงช่วยลดความร้อนที่จะเข้าสู่บ้านทางหลังคา ทำให้บ้านเย็น ลดการใช้พลังงานจากเครื่องปรับอากาศได้ด้วย

นอกจากทำเป็นกระเบื้องมุงหลังคาแล้ว กระเบื้องดินเผายังทำได้อีกหลายอย่าง เช่นสินค้าของเป็นหนึ่งดินเผาไทยดีไซน์ ที่เป็นกระเบื้องดินเผาสำหรับตกแต่ง แม้บ้านตกแต่งด้วยอิฐดูคลาสสิก แต่หากก่ออิฐผิดวิธีก็อาจไม่ช่วยกันความร้อน แถมยังสะสมความร้อน ทางออกอย่างหนึ่งสำหรับคนที่อยากได้บ้านผนังอิฐ ก็อาจเป็นการทำผนังจากวัสดุที่กันความร้อนมากกว่าแต่ตกแต่งเพิ่มเติมด้วยการใช้แผ่นกระเบื้องดินเผาติดผนังแทน นอกจากเลือกขนาดได้แล้ว ยังเลือกความเฉดของสีกระเบื้องได้ด้วย

2. หลังคาที่ช่วยป้องกันและระบายความร้อน

เราเริ่มกันด้วยเรื่องหลังคาในข้อแรก เพราะกว่า 70 % ของความร้อนที่เข้าสู่ตัวบ้านมาจากทางหลังคา นอกจากการเลือกวัสดุก่อสร้างที่ถูกต้อง เช่น กระเบื้องคอนกรีต กระเบื้องแบบพิเศษที่ช่วยสะท้อนความร้อนได้สูง หรือเลือกใช้กระเบื้องดินเผาเช่นในข้อที่ผ่านมา รูปแบบของหลังคาก็มีผลต่ออุณหภูมิในบ้านด้วย โดยหลังคาทรงจั่ว ทรงปั้นหยา หรือหลังคามะนิลา จะช่วยป้องกันบ้านร้อนได้มากกว่าหลังคาแบนเรียบขนานไปกับตัวบ้าน 

นอกจากนี้ เพราะความร้อนในตัวบ้านมักลอยขึ้นไปสะสมที่ฝ้าเพดาน การติดตั้งแผ่นกันความร้อน ฉนวนกันความร้อนใต้หลังคา ร่วมกับการใช้ฝ้าหลังคาที่ระบายความร้อนได้ ก็ช่วยลดความอบอ้าวในบ้านได้ด้วย

3. ป้องกันความร้อนที่จะเข้ามาทางผนังบ้าน

ผนังบ้านเป็นอีกส่วนสำคัญที่จะต้องรับมือกับความร้อนที่จะเข้าสู่ตัวบ้าน บ้านหลายหลังนิยมวางแผนทำผนังที่มีฉนวนกันความร้อนได้ด้วย นอกเหนือจากการเลือกวัสดุที่ใช้ทำผนัง แต่หลายครั้งเราก็อาจต้องเลือกระหว่างเรื่องคุณสมบัติของผนังกับความสวยงามด้านการออกแบบ อย่างบ้านสไตล์โมเดิร์นที่เห็นในตัวอย่างนี้ ซึ่งหากบ้านมีผนังเป็นกระจกจำนวนมาก ก็ควรลดช่องทางไม่ให้แสงตกกระทบกระจกโดยตรง เพื่อลดความร้อนที่จะผ่านกระจกเข้ามาสะสมอยู่ในบ้าน อาจจะด้วยการทำหลังคายื่นออกจากผนังให้มากที่สุด หรือทำกันสาดกันแดดเพิ่มเติม

สนใจดูไอเดียการดีไซน์ผ้าใบกันแดด สวยด้วย กันร้อนได้ด้วยได้ที่นี่เลย

4. ดูทิศทางลมให้ดี

หลักอีกข้อที่เป็นพื้นฐานของการสร้างบ้าน คือการเลือกที่ตั้งบ้านให้อยู่ในจุดที่อากาศถ่ายเทได้ดี แล้วเลือกหันตัวบ้านให้เข้าสู่ด้านรับลม นั่นคือวางหน้าบ้าน-หลังบ้านไปตามแนวเหนือใต้ โดยบ้านไทยส่วนใหญ่จะนิยมหันหน้าบ้านไปทางทิศใต้ เพราะเป็นทิศที่รับลมยาวนานที่สุดของปี จากนั้นก็วางแปลนบ้านให้มีช่องทางให้ลมเข้าออกได้ดี เช่น มีหน้าต่างจำนวนมาก หรือทำประตูหน้าต่างบานสูง เปิดรับอากาศที่จะถ่ายเทเข้าไปช่วยลดความร้อนในตัวบ้าน

5. ลูกต้นไม้ช่วยบังแดด

นอกเหนือจากการก่อสร้างบ้าน การสร้างบรรยากาศรอบบ้านก็ช่วยในการลดความร้อนได้เช่นกัน โดยเฉพาะต้นไม้ใหญ่ที่สามารถเป็นร่มเงาให้บ้านได้ (แต่อย่าปลูกให้ต้นไม้บังทางลมเสียล่ะ) ขณะเดียวกัน พืชต้นเล็กๆ อย่างไม้คลุมดินก็มีส่วนในการลดความร้อนของลานหน้าบ้านได้เช่นกัน เพราะช่วยดูดซับความชื้นจากดิน และทำให้พื้นเย็นได้มากกว่าพื้นคอนกรีตที่ดูดความร้อนเป็นไหนๆ 

นอกจากนี้ถ้าบ้านหลังในมีอาณาบริเวณกว้างขวาง จะลองขุดบ่อน้ำหรือบึงไว้ในทิศเหนือลมก็ได้ ลมจะได้พัดความชื้นจากผิวน้ำขึ้นมาทำให้บ้านเย็นได้ด้วยยังไงล่ะ

Need help with your home project?
Get in touch!

Highlights from our magazine